อำพันบอลติก
หญิงสาวชาวลิทัวเนียในชุดประจำชาติพร้อมสายสร้อยอำพัน
อำพันบอลติกพบกระจายตัวกว้างขวางครอบคลุมพื้นที่กว้างของยุโรปตอนเหนือและแผ่ออกมาทางตะวันออกถึงอูรัลส์
อำพันบอลติกมีส่วนประกอบของกรดซัคคินิกอยู่ในสัดส่วนประมาณร้อยละ 3 – 8 ซึ่งเป็นลักษณะของอำพันที่มีความขุ่นมัวหรือที่เรียกว่า อำพันโบนี กลิ่นหอมๆระคายเคืองที่ปล่อยออกมาจากการเผาเป็นของกรดชนิดนี้เป็นหลัก อำพันบอลติกมีความแตกต่างไปจากอำพันอื่นๆตรงที่มีกรดซัคคินิกและเป็นที่มาของชื่อ ซัคคิไนต์ เสนอขึ้นโดยศาสตราจารย์เจมส์ ดวิกต์ ดานา และปัจจุบันก็ใช้เขียนกันทั่วไปในฐานะชื่อทางทางวิทยาศาสตร์
สำหรับอำพันปรัสเซียน ซัคคิไนต์มีความแข็งระหว่าง 2 – 3 ซึ่งค่อนข้างจะแข็งกว่ายางไม้กลายเป็นซากดึกดำบรรพ์อื่นๆ มีความถ่วงจำเพาะระหว่าง 1.05 ถึง 1.10 เครื่องมือชนิดหนึ่งที่ใช้ในการวิเคราะห์อำพันบอลติกคือไออาร์สเปคโตรสโคปี เครื่องมือนี้นอกจากสามารถแยกแยะความแตกต่างระหว่างอำพันบอลติกออกจากอำพันจากแหล่งอื่นๆได้ด้วยค่าการดูดซับคาร์บอนิลจำเพาะแล้ว ยังสามารถตรวจจับอายุสัมพัทธ์ของอำพันหนึ่งๆได้ด้วย อย่างไรก็ตามนักวิทยาศาสตร์ได้ชี้ให้เห็นว่ากรดซัคคินิกดังกล่าวไม่ใช่เป็นองค์ประกอบตั้งต้นของอำพันบอลติกแต่เป็นผลผลิตจากการสลายตัวของกรดเอบิเอทติก
นอกจากนี้อาจจ้างนักประดาน้ำงมลงไปเก็บอำพันในที่ที่น้ำลึกมากขึ้น ครั้งหนึ่งเคยมีการขุดหาอำพันใต้ทะเลอย่างจริงจังที่คูโรเนียนลากูนโดยสแตนเตียนและเบคเกอร์พ่อค้าอำพันชาวโกนิกส์บวก ในปัจจุบันมีการทำเหมืองอำพันกันอย่างกว้างขวาง ก่อนหน้านี้มีการทำเหมืองเปิดเพื่อขุดหาอำพันแต่ปัจจุบันมีการทำเหมืองใต้ดินด้วย ก้อนทรงมนจากบลูเอิร์ธต้องปลอดจากเนื้อประสานและปลดส่วนทึบแสงออกไปซึ่งอาจทำได้โดยการเขย่าถังทรงกระบอกที่บรรจุทรายและน้ำ อำพันที่หลุดจากพื้นทะเลจะสูญเสียเปลือกนอกออกไปแต่มักพบพื้นผิวของอำพันเป็นรอยขีดข่วนเป็นพื้นผิวด้านจากการกลิ้งไปมาบนพื้นทราย
นับตั้งแต่ที่มีการจัดตั้งเส้นทางสายอำพันทำให้อำพันเป็นที่รู้จักกันในนามของทองปรัสเซีย (ซึ่งปัจจุบันก็มีการเรียกกันด้วยว่าทองลิทัวเนีย) ทำให้เกิดผลกระทบอย่างใหญ่หลวงทั้งทางเศรษฐกิจและวัฒนธรรม อัญมณีอำพันและเครื่องประดับอำพันถูกนำเสนอแก่นักท่องเที่ยวในร้านขายของที่ระลึกทั้งหลายซึ่งถือเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นและเป็นมรดกทางวัฒนธรรมของลิทัวเนีย เมืองชายทะเลอย่างพาแลงก้ามีการก่อสร้างพิพิธภัณฑ์อำพันพาแลงก้าที่มีการนำเสนอเรื่องราวของอำพันไว้ อำพันสามารถพบได้ในแลตเวีย เดนมาร์ค ทางเหนือของเยอรมนี โปแลนด์ และรัสเซียนับตั้งแต่ที่รัสเซียได้ผนวกเอาปรัสเซียเข้าไปอยู่ในการปกครองในปี ค.ศ. 1945
อำพันโดมินิกัน
อำพันโดมินิกันแตกต่างไปจากอำพันบอลติก เพราะเป็นอำพันโปร่งแสงและมักพบซากดึกดำบรรพ์อยู่ด้วย ยางไม้จากพืชชนิดที่สูญพันธุ์ไปแล้ว ของฮายเมนนีพรอเทอรา นับเป็นแหล่งยางไม้ของอำพันโดมินิกันและอำพันทั้งหมดอาจพบในเขตร้อน อำพันชนิดนี้ไม่เป็นพวกซัคคิไนต์แต่จะเป็นพวกริติไนต์ ในทางตรงกันข้ามกับอำพันบอลติก อำพันโดมินิกันในตลาดโลกเป็นอำพันธรรมชาติมาจากเหมืองโดยตรงและไม่ได้มีการปรับแต่งเปลี่ยนแปลงใดๆทั้งทางกายภาพและทางเคมี
อำพันโดมินิกันนี้มีอายุมากถึง 40 ล้านปี อำพันโดมินิกันทั้งหลายจะเรืองแสง จะพบเป็นสีน้ำเงินได้ยากมาก มันเปลี่ยนเป็นสีน้ำเงินในแสงอาทิตย์ธรรมชาติและแหล่งแสงอื่นๆที่มีรังสีอุลตร้าไวโอเลตทั้งหมดหรือบางส่วน แสงอุลตร้าไวโอเลตซึ่งเป็นแสงคลื่นยาวมีคุณสมบัติสะท้อนแสงได้อย่างรุนแรงคือแสงสีขาวเกือบทั้งหมด ปีหนึ่งๆมีการขุดค้นพบอำพันชนิดนี้เพียงประมาณ 100 กิโลกรัมเท่านั้นซึ่งถือว่าเป็นอำพันที่มีค่าสูงและมีราคาแพง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำพันโดมินิกันสีน้ำเงินมีการทำเหมืองเปิดกันแบบไม่มีการวางแผน ซึ่งมีอันตรายต่อคนงานเหมืองสูงมากที่ต้องเสี่ยงที่ผนังเหมืองอาจถล่มลงมาทับร่างเหล่าคนงานได้ เหมืองเปิดแบบนี้เป็นการขุดบ่อเหมืองด้วยเครื่องง่ายๆที่หาได้ อาจเริ่มต้นด้วยการใช้มีด และอาจตามด้วย พลั่ว เสียม แชลง และค้อน โดยจะขุดให้ลึกลงไปเท่าที่จะขุดได้หรือเท่าที่จะปลอดภัย บางครั้งลงไปในแนวดิ่ง บางครั้งก็หักทิศทางไปในแนวราบ แต่ไม่เคยมีการวัดคำนวณใดๆ จะทำการขุดคดโค้งไปมาไปที่เชิงเขาบ้าง ดิ่งลึกลงไปบ้าง หรืออาจจะไปบรรจบกับหลุมอื่นๆได้ ขุดตรงเข้าไปจนอาจไปโผล่อีกแห่งหนึ่งโดยไม่ได้คะเนไว้ น้อยนักที่ขนาดของหลุมขุดจะมีขนาดใหญ่เพียงพอที่จะยืนอยู่ได้หรืออาจจะมีเฉพาะที่ตรงทางเข้าเท่านั้น คนงานเหมืองจะคลานเข้าไป ใช้มือจับแชลง พลั่ว หรือมีดที่มีด้ามสั้นๆ
อำพันที่พบไม่ขายต่อโดยตรงเป็นวัตถุดิบธรรมชาติก็อาจจะตัดหรือขัดเรียบโดยไม่มีการปรุงแต่งใดๆเพิ่มเติม
โดยทั่วไปแล้วจะใช้อำพันโดมินิกันเป็นเครื่องประดับและอัญมณี ขณะที่สีสันและสิ่งที่อยู่ในเนื้อของอำพันจะเพิ่มมูลค่าให้มากยิ่งขึ้น ทำให้มีราคาแพงเป็นที่หมายปองของนักสะสมส่วนตัวและของภาครัฐในตะวันออกไกลได้มีการนำเอาอำพันสีน้ำเงินที่หายากมากไปเกาะสลักเป็นชิ้นงานทางศิลปะ นอกจากนี้ได้มีการนำเอาอำพันสีน้ำเงินไปทำเป็นอัญมณีด้วยคุณสมบัติเรืองแสงตามธรรมชาติภายใต้แสงอุลตร้าไวโอเลต
ในโลกของชาวอิสลาม มีการนำเอาอำพันโดมินิกันโดยเฉพาะอย่างยิ่งลูกปัดอำพันสีน้ำเงินไปใช้ประกอบการสวดมนต์เพื่อการผ่อนคลายความเครียด
_____________________________________
_____________________________________